My Template

เหตุผลในการประกาศใช้

 

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๔๙๗

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องด้วยเงินได้พึงประเมินได้มีการถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ยังน้อยประเภทอยู่ และการใช้จ่ายเงินบำรุงท้องที่ การลดหย่อน อัตราภาษี และวิธีปฏิบัติจัดเก็บยังไม่เหมาะสมตามกาลสมัย ได้แก้ไขเพิ่มเติมให้รัดกุมยิ่งขึ้นเฉพาะเกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่าย และว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ที่เกี่ยวกับการจ่ายเงินบำรุงท้องที่ การหักลดหย่อนอัตราภาษี และวิธีปฏิบัติจัดเก็บ

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๔๙๗

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องด้วยวิธีการเสียภาษีอากรกับวิธีปฏิบัติจัดเก็บภาษีอากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้, ภาษีการค้า, ภาษีป้าย, อากรแสตมป์, อากรมหรสพ และภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ ควรได้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้สะดวกและรัดกุมยิ่งขึ้นตามกาลสมัย จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ คือ :-
               ๑. ภาษีเงินได้
, ภาษีการค้า, ภาษีป้าย เพิ่มให้มีการเรียกเก็บภาษีและการขอเสียภาษีก่อนถึงกำหนดเวลาได้ ทั้งนี้ เพื่อรักษาประโยชน์ของรัฐ และเพื่อความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีในบางกรณี
              
๒. ภาษีเงินได้
              
(ก) แก้ไขเพิ่มเติมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาสำหรับเงินได้พึงประเมินบางประเภท เพื่อให้สะดวกแก่การคำนวณภาษีของผู้เสียภาษีและเจ้าพนักงานประเมินด้วย
               (ข) แก้ไขเพิ่มเติมการเสียภาษีให้ชำระพร้อมกับยื่นรายการ ทั้งนี้ เพื่อความสะดวก
ในการชำระภาษีของผู้เสียภาษีและการปฏิบัติของเจ้าพนักงานด้วย
              
๓. อากรแสตมป์
              
แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำใบรับ เพื่อให้การควบคุมการจัดเก็บอากรรัดกุมยิ่งขึ้น กับทั้งให้มีการผ่อนผันการปฏิบัติในบางกรณีได้ เพื่อความสะดวกของผู้เสียอากร
               ๔. อากรมหรสพ
              
(ก) เพิ่มวิธีเสียอากรให้เป็นตัวเงินได้ ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกแก่ผู้เสียอากร
              
(ข) กำหนดให้มีการจ่ายเงินสินบนรางวัลไว้ด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นทางควบคุมการหลีกเลี่ยงอากรได้อีกทางหนึ่ง
              
๕. ภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ เพิ่มให้มีการชำระภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ล่วงหน้าได้ ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกในการเสียภาษีของผู้ค้าโภคภัณฑ์

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร พ.ศ. ๒๕๐๑

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ เนื่องด้วยประเภทการค้าและโภคภัณฑ์ที่บัญญัติไว้ในปัจจุบันยังไม่รัดกุม และอัตราภาษีการค้ากับอัตราภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ที่จัดเก็บอยู่ในขณะนี้ยังไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมให้รัดกุมและเหมาะสมยิ่งขึ้น และจำเป็นจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดินเพราะเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากร

พระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร พ.ศ. ๒๕๐๑ พ.ศ. ๒๕๐๑

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มีพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร พ.ศ. ๒๕๐๑ ประกาศใช้เป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๐๑ ไปแล้ว รัฐบาลจึงขอเสนอร่างพระราชบัญญัตินี้เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา ๘๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช ๒๔๙๕

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๐๑

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ภาษีการค้าสำหรับการรับจ้างทำของ การขายของ และการขายผลิตภัณฑ์ และภาษีการซื้อโภคภัณฑ์สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง และอุปกรณ์ของเครื่องบรรเลง รถยนต์ และรถอื่น ๆ ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร พ.ศ. ๒๕๐๑ ยังไม่เหมาะสมบางประการ จึงเห็นควรแก้ไขใหม่ และเพื่อแบ่งเบาภาระของประชาชน

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๐๑

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย คือ ผู้ประกอบการกสิกรรมประเภทไม้ล้มลุก ได้แบกภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อมเกินกว่าอัตภาพในขณะนี้ เงินที่นำมาชำระภาษีก็ได้จากการจำหน่ายผลิตผลที่เกิดจากการกสิกรรมในที่ดินของตน ปกติพืชที่ปลูกมากก็คือข้าว ในปัจจุบันราคาข้าวไม่ดี การทำนาได้ผลน้อยอยู่แล้ว ฉะนั้น สมควรยิ่งที่จะลดภาระภาษีบำรุงท้องที่ จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประมวลรัษฎากร

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๐๒

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เพื่อให้อัตราภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ประเภททองคำเป็นไปโดยเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และลดภาระภาษีให้แก่ประชาชน

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๖) พ.ศ. ๒๕๐๒

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรเกี่ยวกับวิธีการจัดเก็บภาษีอากรยังไม่รัดกุม เป็นโอกาสให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหลีกเลี่ยงได้ง่าย และโทษที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรยังต่ำไป ไม่ได้ผลในทางระงับปราบปราม นอกจากนั้นอัตราภาษีอากรบางประเภทยังไม่เหมาะสม จึงสมควรแก้ไขปรับปรุงเสียใหม่ให้รัดกุมและเหมาะสมยิ่งขึ้น

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๐๒

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นปรากฏว่าอัตราก้าวหน้าแต่ละขั้นมีช่วงยาวเกินไปไม่เป็นธรรมจึงได้แก้ให้มีช่วงสั้นกว่าเดิม อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นยังต่ำไปมาก และอัตราภาษีการค้าบางประเภทยังต่ำกว่าที่ควร แต่บางประเภทก็มีอัตราสูงไปกว่าที่ควรเฉพาะอัตราอากรแสตมป์สำหรับตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงินมีอัตราสูงไป ได้แก้ลดอัตราลงเพื่อช่วยส่งเสริมนโยบายลดอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บกันอยู่ขณะนี้และเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราภาษีอากรของประเทศอื่น ๆ แล้ว เห็นได้ชัดเจนว่าอัตราภาษีอากรของประเทศไทยยังไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอแก่ทำนุบำรุงประเทศชาติให้วัฒนาถาวรได้ เพื่อประโยชน์แห่งรายได้ของรัฐที่จะนำมาใช้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้รุ่งเรือง จึงได้ปรับปรุงอัตราภาษีอากรดังกล่าวให้เป็นไปตามควรแก่สถานการณ์

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ. ๒๕๐๔๑๐

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
               (๑) ภาษีเงินได้ เพื่อบรรเทาภาระภาษีแก่ผู้มีเงินได้ให้ลดน้อยลง
              
(๒) ภาษีการค้า เพื่อให้ง่ายและสะดวกแก่การจัดเก็บภาษีทั้งทางฝ่ายผู้เสียภาษีและเจ้าพนักงาน ทั้งทำให้รัดกุมยิ่งขึ้น
              
(๓) อากรแสตมป์ ยกเลิกอากรสำหรับใบรับที่ผู้ประกอบการค้าต้องเสีย เพราะจะมิให้มีการเก็บภาษีซ้อนกับภาษีการค้าซึ่งสิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่าย ไม่สะดวก ควรเก็บภาษีการค้าอย่างเดียว
              
(๔) ภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ ยกเลิกเพราะเหตุผลเช่นเดียวกับอากรแสตมป์

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๐๘๑๑

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เพื่อความชัดเจน ความเป็นธรรม และเหมาะสมแก่สถานการณ์ปัจจุบันกับป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีอากร

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๓๑๒

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่อัตราภาษีการค้าที่จัดเก็บอยู่ตามประมวลรัษฎากรในขณะนี้ยังไม่เหมาะสมแก่สถานการณ์ สมควรแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และโดยที่การแก้ไขจำเป็นจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๑๓๑๓

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เพื่อความชัดเจนและเหมาะสมแก่สถานการณ์ปัจจุบัน

พระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๓๑๔

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๓ ประกาศใช้เป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๑๓ ไปแล้ว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้เพื่ออนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๓

ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๐๖ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๑๕๑๕

หมายเหตุ :- โดยที่คณะปฏิวัติพิจารณาเห็นว่า อัตราภาษีเงินได้ การคำนวณภาษีการค้า จำนวนเงินที่ยอมให้หักค่าใช้จ่ายและลดหย่อนสำหรับกิจการหรือบุคคล รวมทั้งวิธีจัดเก็บภาษีดังกล่าวข้างต้นยังไม่เหมาะสมกับสภาพครอบครัวและกิจการบางประเภท นอกจากนี้บางบทบัญญัติในประมวลรัษฎากรยังมีข้อความไม่ชัดเจนก่อให้เกิดข้อโต้แย้งระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนผู้เสียภาษีอยู่เสมอ สมควรปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรให้เหมาะสมและเป็นธรรมยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกรณีที่กรมสรรพากรต้องคืนเงินภาษีที่ได้เรียกเก็บไว้โดยไม่ถูกต้องให้แก่ผู้เสียภาษี สมควรที่จะคิดดอกเบี้ยให้แก่ผู้รับคืนตามจำนวนที่ต้องคืนด้วย

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๖๑๖

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงอัตราภาษีการค้าสำหรับสินค้าบางชนิดให้เหมาะสมแก่สถานการณ์ยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ขึ้น

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๖๑๗

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประมวลรัษฎากร เพื่อลดภาระภาษีเงินได้ที่เก็บจากบุคคลธรรมดา และแก้ไขวิธีการจัดเก็บเพื่อความเป็นธรรม จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ขึ้น

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๒๑) พ.ศ. ๒๕๑๗๑๘

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันมีกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใช้บังคับ และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ สมควรปรับปรุงประมวลรัษฎากรเพื่อพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ. ๒๕๑๘๑๙

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่วิธีการหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเมื่อออกจากงานยังไม่เหมาะสม สมควรแก้ไขเสียใหม่ให้เหมาะสม และเป็นการบรรเทาภาระภาษีเงินได้ให้แก่ลูกจ้างทั้งหลายด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๐ ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๐๒๐

หมายเหตุ :- โดยที่คณะปฏิวัติพิจารณาเห็นว่า บทบัญญัติและอัตราภาษีอากรของประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้ชัดเจน รัดกุม เป็นธรรม และให้การจัดเก็บเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพซึ่งจะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๒๑๒๑

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรเก็บภาษีการค้าจากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแทนการเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพื่อขจัดความยุ่งยากในทางปฏิบัติและเพื่อให้เกิดความสะดวก รัดกุมและแน่นอนในการเสียภาษี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๑๒๒

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงประมวลรัษฎากรให้เหมาะสมกับสภาพและเหตุการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ความเป็นธรรม ความสะดวกรัดกุมและแน่นอน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ขึ้น

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ. ๒๕๒๒๒๓

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้เพิ่มบทบัญญัติเป็นกรณีพิเศษสำหรับภาษีเงินได้ปิโตรเลียมขึ้น และเพื่อให้ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมและเงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไรเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายสำหรับกรณีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมดังกล่าวอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร สมควรแก้ไขประมวลรัษฎากรเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติที่เพิ่มขึ้นในกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๒๓๒๔

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงประมวลรัษฎากรเพื่อบรรเทาภาระภาษีของผู้มีเงินได้ประจำซึ่งมีรายได้น้อย รวมทั้งปรับปรุงอัตราภาษีเงินได้ให้เหมาะสมกับสภาพและเหตุการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งในการนี้จะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๒๓๒๕

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดนี้ คือ โดยที่มีความจำเป็นต้องเพิ่มอัตราภาษีการค้าสำหรับสินค้าบางชนิดให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจปัจจุบัน ซึ่งในกรณีนี้จะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน และโดยที่กรณีนี้เกิดขึ้นในระหว่างที่ปิดสมัยประชุมรัฐสภา และเป็นกรณีฉุกเฉินซึ่งมีความจำเป็นรีบด่วนที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ขึ้น

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๒๔๒๖

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงประมวลรัษฎากร เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพและเหตุการณ์ในปัจจุบันและป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีอากร ซึ่งจะต้องพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน และโดยที่กรณีนี้เกิดขึ้นในระหว่างที่ปิดสมัยประชุมรัฐสภาและเป็นกรณีฉุกเฉินมีความจำเป็นรีบด่วนที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ขึ้น

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๒๕๒๗

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงประมวลรัษฎากรเพื่อบรรเทาภาระภาษีของผู้มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลางให้เหมาะสมกับสภาพและเหตุการณ์ในปัจจุบันกับให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม และป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีอากรบางกรณีซึ่งจะต้องพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน และโดยที่กรณีนี้เกิดขึ้นในระหว่างที่ปิดสมัยประชุมรัฐสภาและเป็นกรณีฉุกเฉินมีความจำเป็นรีบด่วนที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๒๕๒๘

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงอัตราภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพและเหตุการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งจะต้องพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน และโดยที่กรณีนี้เกิดขึ้นในระหว่างที่ปิดสมัยประชุมรัฐสภา และเป็นกรณีฉุกเฉินมีความจำเป็นรีบด่วนที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๒๕) พ.ศ. ๒๕๒๕๒๙

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรเพื่อความเป็นธรรม ความชัดเจน ความรัดกุม และความเหมาะสมแก่สถานการณ์และเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีอากรให้ได้ผลดียิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๒๕๓๐

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้เงินปันผลที่ได้จากสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทเดียวกับเงินปันผลที่ได้จากบริษัทจำกัด โดยให้เงินปันผลดังกล่าวนี้ได้รับการปฏิบัติเหมือนกับเงินปันผลที่ได้รับจากกองทุนรวม และยกเลิกการให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเสียภาษีเงินได้อย่างบุคคลธรรมดาเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษี และให้องค์การของรัฐบาลเสียภาษีเงินได้จากการขายสินค้าขององค์การของรัฐบาลแทนผู้ขายสินค้าซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเช่นเดียวกับผู้ขายสินค้าซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๒๕๓๑

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงประมวลรัษฎากรให้เหมาะสมกับสภาพและเหตุการณ์ในปัจจุบัน กับให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมและป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีอากรบางกรณี ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดินและเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๒๖๓๒

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงประมวลรัษฎากรให้เหมาะสมกับสภาพและเหตุการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งจะต้องพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดินและเป็นกรณีฉุกเฉินมีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๒๗๓๓

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงประมวลรัษฎากรให้เหมาะสมกับสภาพและเหตุการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งจะต้องพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน และเป็นกรณีฉุกเฉินมีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๒๙๓๔

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงประมวลรัษฎากรให้เหมาะสมกับสภาพและเหตุการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งจะต้องพิจาณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดินและเป็นกรณีฉุกเฉินมีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๓๒๓๕

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงประมวลรัษฎากรให้เหมาะสมกับสภาพและเหตุการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งจะต้องพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดินและเป็นกรณีฉุกเฉิน มีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๒๗) พ.ศ. ๒๕๓๓๓๖

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมขึ้นใช้บังคับโดยมีหลักการให้ลูกจ้างและนายจ้างร่วมกันส่งเงินเข้าสมทบในกองทุนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างในกรณีที่มิใช่เนื่องจากการทำงาน สมควรให้การสนับสนุนแก่ผู้ซึ่งต้องส่งเงินเข้าสมทบในกองทุนดังกล่าว โดยการให้นำเงินที่ได้ส่งเข้าสมทบในกองทุนนั้นไปหักลดหย่อนได้ และเงินประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนได้รับจากกองทุนให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๗ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔๓๗

หมายเหตุ :- โดยที่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติพิจารณาเห็นว่า บทบัญญัติและอัตราภาษีอากรของประมวลรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับการเก็บภาษีเงินได้จากบุคคลธรรมดาที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๒๘) พ.ศ. ๒๕๓๔๓๘

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงบทบัญญัติว่าด้วยการคำนวณภาษีเงินได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรให้เป็นไปในแนวเดียวกันกับหลักเกณฑ์การคำนวณค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน โดยให้เจ้าพนักงานประเมินกำหนดราคาขายอสังหาริมทรัพย์โดยถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินเพื่อให้เกิดความสะดวกและเป็นธรรมแก่ประชาชนผู้ขอจดทะเบียนดังกล่าวมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๒๙) พ.ศ. ๒๕๓๔๓๙

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงประมวลรัษฎากรให้เหมาะสมกับสภาพและเหตุการณ์ปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔๔๐

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงประมวลรัษฎากรให้เหมาะสมกับสภาพและเหตุการณ์ในปัจจุบันโดยนำภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะมาใช้แทนภาษีการค้า และปรับปรุงบทบัญญัติว่าด้วยบทเบ็ดเสร็จทั่วไป ภาษีเงินได้นิติบุคคลและอากรแสตมป์ของประมวลรัษฎากรให้สอดคล้องกับภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๑) พ.ศ. ๒๕๓๔๔๑

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประมวลรัษฎากรให้เหมาะสมกับสภาพและเหตุการณ์ในปัจจุบันเพื่อความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๖) พ.ศ. ๒๕๓๔๔๒

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงประมวลรัษฎากรให้เหมาะสมกับสภาพและเหตุการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งจะต้องพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดินและเป็นกรณีฉุกเฉิน มีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๒) พ.ศ. ๒๕๔๐๔๓

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันนี้ประมวลรัษฎากรได้บัญญัติให้ผู้มีเงินได้จากเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรซึ่งได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยได้รับเครดิตในการคำนวณภาษีสามในเจ็ดส่วนของเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับทุกกรณี ในขณะที่การประกอบกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยต้องเสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิในกิจการต่าง ๆ ในอัตราที่แตกต่างกัน สมควรแก้ไขให้ผู้มีเงินได้จากเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวได้รับเครดิตในการคำนวณภาษีให้สอดคล้องกับการเสียภาษีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีอยู่หลายอัตราเพื่อความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี และสมควรกำหนดความรับผิดของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินได้ซึ่งแสดงข้อความในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ถูกต้อง เพื่อให้การเครดิตภาษีเป็นไปโดยรอบคอบและถูกต้อง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๔๐๔๔

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่มีปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเงิน ส่งผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ จำเป็นต้องกันเงินสำรองไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญสูงขึ้นกว่าเดิม แต่บทบัญญัติของประมวลรัษฎากรที่ให้นำเงินสำรองดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้มีข้อจำกัด ก่อให้เกิดภาระภาษีแก่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทเดรดิตฟองซิเอร์เกินสมควร ดังนั้น เพื่อเป็นกาลดภาระภาษีให้แก่สถาบันการเงินซึ่งจะทำให้ฐานะทางการเงินของสถาบันการเงินดีขึ้น สมควรกำหนดให้เงินสำรองดังกล่าวถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้เต็มจำนวน และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๓) พ.ศ. ๒๕๔๑๔๕

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้การบริการขนส่งระหว่างประเทศ โดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเลที่กระทำโดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายของต่างประเทศ ใช้อัตราภาษีร้อยละ ๐ ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเพียงอัตราเดียว เพื่อให้เกิดความเป็นกลางและเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบกิจการดังกล่าวที่เข้ามาประกอบกิจการในราชอาณาจักรและเพื่อลดปัญหาความยุ่งยากที่เกิดจากการที่ต้องมีการติดตามวิธีการปฏิบัติทางภาษีของประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขนส่งระหว่างประเทศทางทะเลที่ตัวแทนผู้ประกอบการขนส่งมักจะรับเป็นตัวแทนให้กับหลายบริษัท หากมีแนวปฏิบัติในแนวทางเดียวกันแล้วจะลดภาระแก่ตัวแทนเหล่านั้นได้ ตลอดจนเพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในภูมิภาค ประกอบกับสมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้การรับประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยซึ่งเดิมเป็นการประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นการประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแทนเพื่อให้มีการประกอบกิจการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการจัดเก็บภาษีในระยะยาว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๔) พ.ศ. ๒๕๔๑๔๖

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ จึงสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียน และโดยที่ในปัจจุบันการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากกฎหมายปัจจุบันกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี และชำระภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีดังกล่าวในเดือนถัดไป ซึ่งปรากฏว่ามีการหลีกเลี่ยงภาษีไม่ชำระภาษีเป็นจำนวนมาก ทำให้รัฐขาดรายได้ส่วนนี้ไป ดังนั้น สมควรปรับปรุงประมวลรัษฎากร เพื่อให้การบริหารจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับกรณีนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอันจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษีและป้องกันการหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ส่งผลทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๕) พ.ศ. ๒๕๔๔๔๗

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเพื่อกำหนดให้มีการจัดตั้งเขตปลอดอากรขึ้นเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการส่งออก โดยผู้ประกอบการในเขตดังกล่าวจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในทำนองเดียวกันกับเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แต่โดยที่บทบัญญัติของประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับเขตอุตสาหกรรมส่งออกเท่านั้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรเพื่อให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีครอบคลุมถึงเขตปลอดอากรและเขตที่มีกฎหมายกำหนดให้ยกเว้นอากรขาเข้าตามที่จะได้มีการจัดตั้งขึ้นต่อไปด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๖) พ.ศ. ๒๕๔๘๔๘

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ กำหนดให้ผู้อุปการะเลี้ยงดูบุพการีซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับการหักลดหย่อนภาษีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในประมวลรัษฎากร ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาผู้ให้กำเนิดบุตร สมควรกำหนดให้ผู้มีเงินได้ซึ่งอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนหรือบิดามารดาของสามีหรือภริยาของตนสามารถนำค่าอุปการะเลี้ยงดูดังกล่าวมาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๗) พ.ศ. ๒๕๕๒๔๙

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐบาลมีนโยบายเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของคนพิการหรือทุพพลภาพ สมควรกำหนดให้ผู้มีเงินได้ซึ่งอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา สามีหรือภริยา บุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ บิดามารดาหรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ หรือบุคคลอื่นที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยบุคคลดังกล่าวต้องเป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ สามารถนำค่าอุปการะเลี้ยงดูบุคคลดังกล่าวมาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อันเป็นการสนับสนุนการอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือทุพพลภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ. ๒๕๕๕๕๐

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ ๑๗/๒๕๕๕ ว่า มาตรา ๕๗ ตรี และมาตรา ๕๗ เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ขัดหรือแย้งต่อมาตรา ๓๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นอันใช้บังคับมิได้ตามมาตรา ๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งทำให้มีความจำเป็นต้องกำหนดหลักเกณฑ์ในการเสียภาษีเงินได้และการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินของผู้มีเงินได้ที่เป็นสามีและภริยาขึ้นใหม่บางประการ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรในเรื่องดังกล่าว เพื่อใช้บังคับสำหรับการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ทั้งนี้ ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี พ.ศ. ๒๕๕๕ ใน พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึ่งต้องเริ่มต้นยื่นตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกอบกับการจัดเก็บภาษีเงินได้และการบริหารจัดเก็บภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นเครื่องมือทางการคลังที่สำคัญในอันที่จะทำให้รัฐสามารถจัดเก็บภาษีอากรซึ่งเป็นรายได้ที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและตรวจสอบได้ และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๘) พ.ศ. ๒๕๕๗๕๑

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๖๓ แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้การขอคืนภาษีเงินได้ที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย และนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสีย ให้ยื่นคำร้องขอคืนได้ภายในสามปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไป ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวไม่สอดคล้องกับมาตรา ๒๗ ตรี แห่งประมวลรัษฎากร อันเป็นบทบัญญัติในลักษณะทำนองเดียวกันทำให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย สมควรปรับปรุงระยะเวลาการยื่นคำร้องขอคืนภาษีเงินได้ที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๙) พ.ศ. ๒๕๕๗๕๒

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเงินได้จากห้างหุ้นส่วนสามัญและคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้เกิดความชัดเจนและเป็นธรรมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๐) พ.ศ. ๒๕๕๘๕๓

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการตรากฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีจากการรับมรดก แต่ประมวลรัษฎากรยังมีการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี และเงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม เป็นการไม่สอดคล้องกับการจัดเก็บภาษีการรับมรดก สมควรปรับปรุงบทบัญญัติในการจัดเก็บภาษีสำหรับการให้ในกรณีดังกล่าวให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๑) พ.ศ. ๒๕๕๙๕๔

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่บทลงโทษทางอาญาตามประมวลรัษฎากรยังไม่ครอบคลุมถึงกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นบัญชีที่มีการรับรองพร้อมกับยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีหรือกระทำการใด ๆ โดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกันเพื่อขอคืนภาษีอากร อีกทั้งอัตราโทษสำหรับความผิดเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงภาษีอากรยังไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับความผิดอาญาดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๒) พ.ศ. ๒๕๕๙๕๕

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีจากกำไรสุทธิ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๓) พ.ศ. ๒๕๕๙๕๖

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๔๒ (๒๖) แห่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน ให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม เฉพาะในส่วนที่ไม่เกินยี่สิบล้านบาทเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี แต่บทบัญญัตินี้ยังไม่ชัดเจนว่า เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นในส่วนที่ไม่เกินยี่สิบล้านบาทนั้น ให้ใช้บังคับแก่กรณีการโอนให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายแต่ละคน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติมาตรา ๔๒ (๒๖) แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมการกำหนดเกี่ยวกับจำนวนบุตรสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีในกรณีดังกล่าว ให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๔) พ.ศ. ๒๕๖๐๕๗

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่หลักเกณฑ์การหักค่าใช้จ่าย การหักลดหย่อน การกำหนดเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้ การกำหนดเงินได้พึงประเมินที่ต้องยื่นรายการสำหรับบุคคลธรรมดา และอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดาที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ ตามประมวลรัษฎากร ได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การหักค่าใช้จ่าย การหักลดหย่อน การกำหนดเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้ การกำหนดเงินได้พึงประเมินที่ต้องยื่นรายการสำหรับบุคคลธรรมดา และอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดาดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐๕๘

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๕๔ เฉพาะในส่วนที่สันนิษฐานให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษทางอาญาร่วมกับการกระทำความผิดของนิติบุคคล โดยไม่ปรากฏว่ามีการกระทำหรือเจตนาประการใดอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าวทำนองเดียวกัน คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗๔ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๗๘ พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ มาตรา ๒๘/๔ และพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๗๒/๕ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ ดังนั้น เพื่อแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกันมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๕) พ.ศ. ๒๕๖๐๕๙

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากประเทศไทยในฐานะสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง Asia Pacific Group on Money Laundering (APG) มีเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ (Terms of References) ที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตามข้อแนะนำของ Financial Action Task Force (FATF) ในการกำหนดให้อาชญากรรมเกี่ยวกับภาษีอากรที่มีลักษณะร้ายแรงเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และเพื่อให้เป็นไปตามเหตุผลดังกล่าว อีกทั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปราบปรามการหลีกเลี่ยงและการฉ้อโกงภาษีอากร สมควรกำหนดให้การกระทำความผิดเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีอากรและการฉ้อโกงภาษีอากรที่มีลักษณะเป็นอาชญากรรมร้ายแรงเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๖๑๖๐

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันได้มีการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล หรือการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลซึ่งเงินได้จากกรณีดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี แต่โดยที่ยังไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายเพื่อการจัดเก็บภาษีเงินได้จากคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลเป็นการเฉพาะเป็นเหตุให้รัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้ครบถ้วน ดังนั้น เพื่อให้การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกรณีดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และโดยที่เป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๖) พ.ศ. ๒๕๖๑๖๑

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประเทศไทยมีอัตราการเกิดของประชากรลดลง ทำให้มีประชากรวัยแรงงานลดลงและอัตราส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้มีเงินได้มีบุตรมากกว่าหนึ่งคน อันจะส่งผลให้โครงสร้างประชากรของประเทศมีความเหมาะสมกับการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การหักลดหย่อนสำหรับบุตร จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๗) พ.ศ. ๒๕๖๑๖๒

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดใหญ่หลายแห่งที่มีความสัมพันธ์กันในด้านทุน การจัดการ หรือการควบคุม มีข้อกำหนดทางด้านการพาณิชย์หรือการเงินในการทำธุรกรรมระหว่างกันแตกต่างจากที่ควรกำหนดหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวได้ดำเนินการโดยอิสระ ทำให้สามารถถ่ายโอนกำไรระหว่างกันเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีที่พึงต้องเสียและมีแนวโน้มที่จะใช้วิธีการดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจนอาจส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษีเงินได้และสถานะทางการคลังของรัฐ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว สมควรกำหนดหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกรณีดังกล่าว ให้สอดคล้องกับหลักการและแนวปฏิบัติที่เป็นสากล

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๘) พ.ศ. ๒๕๖๒๖๓

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติได้กำหนดให้นำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับการดำเนินการของภาครัฐเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนซึ่งรวมถึงการรับชำระเงินภาษี ประกอบกับลักษณะในการทำธุรกรรมของภาคเอกชนในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ส่งผลให้การตรวจสอบและติดตามข้อมูลเพื่อการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรในปัจจุบันไม่อาจดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการนำส่งเงินภาษี การยื่นรายการหรือเอกสารเกี่ยวกับภาษีอากร และเพื่อให้กรมสรรพากรได้รับข้อมูลอันจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดเก็บภาษีอากร สมควรปรับปรุงวิธีการนำส่งเงินภาษีบางประเภทและการยื่นรายการหรือเอกสารเกี่ยวกับภาษีอากรให้สามารถดำเนินการด้วยวิธีการอื่นเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากรได้ นอกจากนี้ยังกำหนดให้สถาบันการเงินและผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์มีหน้าที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะให้กรมสรรพากรเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร และปรับปรุงอัตราโทษสำหรับกรณีเจ้าพนักงานเปิดเผยข้อมูลของผู้เสียภาษีอากรหรือของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๙) พ.ศ. ๒๕๖๒๖๔

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ ๐ ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการกับองค์การระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีพันธกรณีตามความตกลงที่จะต้องปฏิบัติเท่าเทียมกับสถานเอกอัครราชทูต องค์การสหประชาชาติหรือทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ และสำนักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีตามความตกลง และเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับนานาประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๐) พ.ศ. ๒๕๖๒๖๕

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรฐานการบัญชีได้มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ โดยกำหนดให้กิจการที่มีธุรกรรมทางการเงินเป็นเงินตราต่างประเทศ บางกรณีสามารถเลือกใช้สกุลเงินที่ใช้ในการดำเนินงานเป็นสกุลเงินอื่นนอกจากเงินตราไทยได้ ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติจัดเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี อันจะส่งผลเป็นการเพิ่มความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการและจูงใจให้มีการจัดตั้งสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศและบริษัทการค้าระหว่างประเทศในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ของประมวลรัษฎากรเกี่ยวกับการใช้สกุลเงินอื่นนอกจากเงินตราไทยเป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดำเนินงาน อัตราแลกเปลี่ยนสำหรับการคำนวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินและวิธีการคำนวณและการชำระภาษีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ใช้เงินตราต่างประเทศเป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดำเนินงาน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๑) พ.ศ. ๒๕๖๒๖๖

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๗๐ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐ บัญญัติให้ผู้บริจาคเงินแก่พรรคการเมืองมีสิทธินำจำนวนเงินที่บริจาคไปหักเป็นค่าลดหย่อนหรือรายจ่ายเพื่อการบริจาคตามที่กำหนดในประมวลรัษฎากรได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๒) พ.ศ. ๒๕๖๒๖๗

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันการลงทุนในตราสารหนี้โดยตรงมีภาระภาษีที่แตกต่างกับการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม และเพื่อให้ภาระภาษีจากการลงทุนทั้งสองประเภทดังกล่าวมีความสอดคล้องกัน สมควรปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเงินได้จากกองทุนรวมที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือตามกฎหมายของต่างประเทศ เฉพาะเงินได้ตามมาตรา ๔๐ (๔) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๓) พ.ศ. ๒๕๖๔๖๘

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีการใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศมากขึ้น สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรโดยผู้ใช้ซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้มีความเหมาะสมกับรูปแบบการประกอบธุรกิจและการใช้บริการดังกล่าว นอกจากนี้ สมควรปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการมี การใช้ หรือการจัดทําเอกสารหลักฐานหรือหนังสืออื่นใดตามประมวลรัษฎากร ให้สามารถดําเนินการด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ประชาชนและเพิ่มความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๔) พ.ศ. ๒๕๖๔๖๙

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้รูปแบบการประกอบธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ไม่มีพรมแดน การเคลื่อนย้ายการลงทุนสามารถทำได้ง่าย ก่อให้เกิดการโยกย้ายกำไรในการดำเนินธุรกิจไปในประเทศที่มีความจูงใจด้านภาษีอากร ส่งผลให้การติดตามจัดเก็บภาษีอากรของแต่ละประเทศเป็นไปอย่างลำบากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ การให้ความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีอากรเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการแลกเปลี่ยนข้อมูลภาษีอากรระหว่างกันที่มีการกำหนดไว้ในความตกลงหรืออนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน และการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากร หรือความตกลงระหว่างประเทศ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินการดังกล่าว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรเพื่อกำหนดอำนาจอธิบดีกรมสรรพากรในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้มาโดยหน้าที่ราชการเพื่อการปฏิบัติตามพันธกรณีตามความตกลงหรืออนุสัญญาดังกล่าว และเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากร จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้


                ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๑/ตอนที่ ๑๓/หน้า ๒๒๗/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗
                ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๑/ตอนที่ ๖๔/หน้า ๑๔๔๗/๑๒ ตุลาคม ๒๔๙๗
               ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๕/ตอนที่ ๒๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๙ เมษายน ๒๕๐๑
               ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๕/ตอนที่ ๓๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๕ เมษายน ๒๕๐๑
               ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๕/ตอนที่ ๓๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๗/๑๘ เมษายน ๒๕๐๑
               ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๕/ตอนที่ ๗๘/หน้า ๔๙๘/๗ ตุลาคม ๒๕๐๑

               ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๖/ตอนที่ ๕๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๗/๕ มิถุนายน ๒๕๐๒
               ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๖/ตอนที่ ๑๐๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๔ พฤศจิกายน ๒๕๐๒
               ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๖/ตอนที่ ๑๒๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔/๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๒
               ๑๐ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๘/ตอนที่ ๖๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๓๐ สิงหาคม ๒๕๐๔
               ๑๑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๒/ตอนที่ ๑๑๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕/๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๘

               ๑๒ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๗/ตอนที่ ๕๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙/๓๐ มิถุนายน ๒๕๑๓
               ๑๓ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๗/ตอนที่ ๘๐/หน้า ๕๙๑/๒๕ สิงหาคม ๒๕๑๓
               ๑๔ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๗/ตอนที่ ๙๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐/๗ ตุลาคม ๒๕๑๓
               ๑๕ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๙/ตอนที่ ๑๓๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๕ กันยายน ๒๕๑๕
               ๑๖ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๐/ตอนที่ ๑๖๒/หน้า ๖๑๙/๑๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
               ๑๗ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๐/ตอนที่ ๑๖๗/หน้า ๖๓๕/๑๘ ธันวาคม ๒๕๑๖
               ๑๘ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๑/ตอนที่ ๒๒๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
               ๑๙ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๒/ตอนที่ ๓๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๔/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘
               ๒๐ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๔/ตอนที่ ๑๐๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐/๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๐
               ๒๑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๗๔/หน้า ๔๓๘/๒๕ กรกฎาคม ๒๕๒๑
               ๒๒ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๑๕๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๓๐ ธันวาคม ๒๕๒๑
               ๒๓ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๒๒๐/หน้า ๔/๓๐ ธันวาคม ๒๕๒๒
               ๒๔ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๗๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๒๓

               ๒๕ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๑๖๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๕/๑๖ ตุลาคม ๒๕๒๓
               ๒๖ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๘/ตอนที่ ๕๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๓๑ มีนาคม ๒๕๒๔
               ๒๗ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๙/ตอนที่ ๒๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๕/๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕
               ๒๘ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๙/ตอนที่ ๒๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑/๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕
               ๒๙ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๙/ตอนที่ ๙๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒ กรกฎาคม ๒๕๒๕

               ๓๐ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๙/ตอนที่ ๑๒๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๗ สิงหาคม ๒๕๒๕
               ๓๑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๙/ตอนที่ ๑๕๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๗๙/๑๖ ตุลาคม ๒๕๒๕
               ๓๒ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๐/ตอนที่ ๑๘๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๖
               ๓๓ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๑๙๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๗
               ๓๔ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๑๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๕/๓๑ มกราคม ๒๕๒๙

               ๓๕ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๔ มกราคม ๒๕๓๒
               ๓๖ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๖๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒ กันยายน ๒๕๓๓
               ๓๗ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๓๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒/๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔
               ๓๘ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐/๑๘ กันยายน ๒๕๓๔
               ๓๙ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๙๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๔

               ๔๐ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๒๐๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
               ๔๑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๒๐๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๓๐/๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
               ๔๒ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๒๒๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๗/๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๔
               ๔๓ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๙ ก/หน้า ๑/๑ เมษายน ๒๕๔๐
               ๔๔ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๐ ก/หน้า ๓๒/๒๔ ตุลาคม ๒๕๔๐

               ๔๕ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๑๒/๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๑
               ๔๖ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๑๔/๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๑
               ๔๗ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๘๕ ก/หน้า ๑/๒๗ กันยายน ๒๕๔๔
               ๔๘ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๔ ก/หน้า ๑๓/๑๓ มกราคม ๒๕๔๘
               ๔๙ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๘๔ ก/หน้า ๕/๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

               ๕๐ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๒๔ ก/หน้า ๑/๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๕
               ๕๑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๗๗ ก/หน้า ๒๑/๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
               ๕๒ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๘๗ ก/หน้า ๑/๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๗
               ๕๓ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๗๒ ก/หน้า ๑๒/๕ สิงหาคม ๒๕๕๘
               ๕๔ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๑๗ ก/หน้า ๑/๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

               ๕๕ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๒๑ ก/หน้า ๔/๔ มีนาคม ๒๕๕๙
               ๕๖ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๑๐๙ ก/หน้า ๑/๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๙
               ๕๗ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๒ ก/หน้า ๒๓/๒๗ มกราคม ๒๕๖๐
               ๕๘ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
               ๕๙ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๓๗ ก/หน้า ๑/๑ เมษายน ๒๕๖๐

               ๖๐ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๓๓ ก/หน้า ๗๑/๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑
               ๖๑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๙๒ ก/หน้า ๒๒/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
               ๖๒ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๙๗ ก/หน้า ๔๖/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
               ๖๓ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๓๔ ก/หน้า ๒๓/๒๐ มีนาคม ๒๕๖๒
               ๖๔ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๒๓ ก/หน้า ๑/๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
               ๖๕ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๔๕ ก/หน้า ๖/๗ เมษายน ๒๕๖๒
               ๖๖ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๕๐ ก/หน้า ๑๐๓/๑๖ เมษายน ๒๕๖๒
               ๖๗ ราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๖๗ ก/หน้า ๑๐๓/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๒
               ๖๘ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๘/ตอนที่ ๑๑ ก/หน้า ๑/๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
               ๖๙ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๘/ตอนที่ ๗๓ ก/หน้า ๙๐/๘ พฤศจิกายน
๒๕๖๔